ผู้ติดตาม

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ



ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ




ระบบนิเวศ

-เป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองหรืออาจจะเป็นสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่อาศัยก็ได้
-โดยในระบบนิเวศจะมี
      *การหมุนเวียนสาร (nutrient cycle)
      *ถ่ายทอดพลังงาน (energy transfer)
-ระบบนิเวศ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ระบบนิเวศบนบก และระบบนิเวศบนน้ำ
-โดยถือได้ว่าโลกเป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่

ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่
-อุณหภูมิ : เป็นตัวกำหนดลักษณะของไบโอม และลักษณะสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่โดยในเขตร้อนจะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลาย สัตว์ในเขตหนาวจะมีขนยาว และมีชั้นไขมันหนาเพื่อรักษาความอบอุ่น ทำให้สัตว์บางชนิดมีการอพยพ (migration) เพื่อหนีหนาว เช่น นกเปิดน้ำ นกปากห่าง นกนางแอ่น
สัตว์บางชนิดจะมีการจำศีลเพื่อหลีกเลี่ยงอุณหภูมิ
-การจำศีลหนีร้อน (estivation) เช่น กบ
-การจำศีลหนีหนาว (hibernation) เช่น หมี กระรอก
พืชที่อยู่ในเขตร้อน จะปิดปากใบ หรือไม่มีใบ (มีหนามแทน) เพื่อลดการคายน้ำ


อ้างอิง : https://www.webythebrain.com/



ไบโอม (Blome)



ไบโอม (Blome)




ไบโอม คือ ลักษณะพื้นที่ ที่สภาพภูมิอากาศและสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยแบบจำเพาะ

   ไบโอมบก (terrestrial biome) จะมีรูปแบบต่างกันตาม อุณหภูมิ และ ปริมาณน้ำฝน
   ไบโอมน้ำ การจำแนกประเภทระบบนิเวศน้ำ มีหลายเกณฑ์ในการแบ่ง ได้แก่
-ปริมาณเกลือ : น้ำจืด(<1%)น้ำกร่อย (1-3%)และน้ำเค็ม (>3%)
-การเคลื่อนไหวของน้ำ

*น้ำนิ่ง(Lentic) เช่น ทะเลสาบ สระ บึง หนอง กระแสน้ำเคลื่อนไหวน้อยแบบไม่มีทิศทาง โดยเกิดจากลมปริมาณน้ำน้อยค่าph ไม่คงที่ มีตะกอนสะสมอยู่มาก
*น้ำไหล (Lotic) เช่น ลำธาร น้ำตก คลอง แม่น้ำ ปริมาณน้ำมาก ค่าคงที่ph ไม่คงที่
แบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณที่น้ำไหลเชี่ยว จะไม่มีตะกอนใต้น้ำและบริเวณแอ่งน้ำจะมีตะกอนสะสมอยู่

      สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่จะปรับตัวเพื่อลดแรงต้านของน้ำ เช่น มีโครงสร้างในยึดเกาะมีเมือกเหนียว รูปร่างเพรียว หรือแบนราบ จะว่ายทวนน้ำ หรือซ่อนตัวอยู่ตามซอก
เช่น ฟองน้ำน้ำจืด ตัวอ่อนของแมลงชีปะขาว ปลาพลวง ปลาตะเพียนน้ำตก ปลาเลียหิน



อ้างอิง : https://www.webythebrain.com/




สภาพภูมิอากาศในบริเวณต่างๆของโลก



สภาพภูมิอากาศในบริเวณต่างๆของโลก





ปริมาณแสงที่โลกได้รับ ในบริเวรต่างๆ                   
                                                 
   -ที่เส้นศูนย์สูตร เขตร้อนเพราะรับแสงมาก
   -บริเวณขั้วโลก  เขตหนาวเพราะรับแสงน้อย
ช่วงเวลาที่โลกได้รับแสง ในแต่ละเดือนจะไม่เท่ากัน เนื่องจากโลกหมุนทวนเข็มนาฬิการอบตัวเอง
และรอบดวงอาทิตย์ และแกนของโลกจะเอียงทำมุม 23.5 ํ กับดวงอาทิตย์
การที่แกนของโลกเอียง ทำเกิดฤดูกาล  และทำให้ช่วงกลางวัน-กลางคืนในแต่ละเดือนไม่เท่ากัน
             *Equinox (วิษุวัต) เป็นช่วงที่แสงจากดวงอาทิตย์ส่องตรงมาที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร
ทำให้ช่วงเวลากลางวันกับกลางคืนเท่ากันพอดี ซึ่งจะเกิดในช่วงเดือนมีนาคมและเดือนกันยายน  
-September equinox หรือ Fall equinox หรือ Autumnal equinox (ศารทวิษุวัต) 
 (ศารท หรือ สารท แปลว่า ฤดูใบไม้ร่วง)
 -March equinox หรือ Spring equinox หรือ Vernal equinox (วสันตวิษุวัต) (วสันต์แปลว่า ฤดูฝน)
            *Solstice (อาผัน) เป็นช่วงที่แสงจากดวงอาทิตย์ ส่องตรงมาที่เส้น Tropic ทำให้บางบริเวณกลางวันยาวนานกว่ากลางคืนมาก และบางบริเวณกลางคืนยาวนานกว่ากลางวันมาก ซึ่งจะเกิดในช่วงเดือน
มิถุนายน และ เดือนธันวาคม
-June solstice (ศรีษมายัน)
แสงจากดวงอาทิตย์ส่องตรงไปยังเส้น Tropio of cancer
            *ซีกโลกเหนือ กลางวันยาว
            *ซีกโลกใต้      กลางวันสั้น กลางคืนยาว
-December solstice (เหมายัน)
   ซีกโลกเหนือ  กลางวันสั้น
   ซีกโลกใต้       กลางวันยาว

อ้างอิง : https://www.webythebrain.com/



ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ

ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ ภาพ :  https://sites.google.com/site/sireepatlukpet37/rabb-niwes-pa-chay-len ระบบนิเวศ -เป็นระ...